รู้ให้ชัด ประโยชน์ของ เคอร์คิวมินอยด์ ใน ขมิ้นชัน

เคอร์คิวมินอยด์ ใน ขมิ้นชัน ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็ง โดยมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มากกว่าวิตามินอี อย่างน้อย 50 เท่า ซึ่งสารอนุมูลอิสระนี้เองเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งลำไส้ โดยสามารถป้องกันสารเคมี ยาฆ่าแมลงเช่น ดีดีที และไดอ๊อกซิน ไม่ให้เข้าสู่เซลล์ร่างกาย ซึ่งสารเคมีเหล่านี้เองเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ช่วยส่งเสริมการรักษาโรคมะเร็งให้ได้ผลดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่รักษาในขั้นเคมีบำบัด โดยป้องกันสารที่ใช้ในเคมีบำบัดไม่ให้ไปทำร้ายเซลล์ที่ดี และเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการรักษาด้วยเคมีบำบัด ช่วยให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี และป้องกันโรคผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกลากที่เกิดจากเชื้อรา ช่วยป้องกันตับอักเสบ เนื่องจากสารพิษ โดยมีคุณสมบัติในการล้างพิษในตับตามธรรมชาติ และเนื่องจากตับ เป็นแหล่งกำเนิดของน้ำย่อยหลายชนิด จึงเป็นกระบวนการในการลดอาการจุกเสียดทางอ้อม ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลที่สูง (High cholesterol) และเผาผลาญไขมันในร่างกาย (Fat Burn) ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s) โดยยับยั้งการก่อเกิดเอนไซม์ acetyl-cholinesterase…

“ขมิ้นชัน” พืชสมุนไพรคุ้ยเคยของคนไทย

หากถามคนไทย 100 คน ว่ารู้จัก “ขมิ้นชัน” ไหม ทุกคนคงจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “รู้จัก” แต่หากถามต่อไปว่า รู้ไหมว่า “ขมิ้นชัน” มีประโยชน์อย่างไร อาจจะมีไม่ถึง 20 คน ที่จะให้คำตอบคุณได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง จากประโยชน์นานับประการของสารออกฤทธิ์สำคัญในขมิ้นชัน ที่ชื่อว่า “เคอร์คิวมินอยด์” (curcuminoid) ทำให้ “ขมิ้นชัน” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นบัญชียาสมุนไพรแห่งชาติของไทยเลยทีเดียว และไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยที่เห็นความสำคัญนี้เท่านั้น ในต่างประเทศเองก็ยังเห็นประโยชน์อันมหาศาลนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา, อังกฤษ, หรือ ญี่ปุ่น เนื่องจากประเทศเหล่านี้สังเกตุเห็นว่าอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็ง ของชาวอเมริกันผู้ซึ่งนิยมบริโภคอาหารที่เต็มไปด้วยความมันจากไขมันที่มีสูงขึ้นทุกปี ผิดกับชาวอินเดียที่นิยมบริโภคอาหารที่มีความมันเช่นกัน แต่กลับมีสถิติผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งน้อยกว่าหลายเท่าตัว ซึ่งข้อแตกต่างที่สำคัญคือ อาหารของชาวอินเดียแทบทุกประเภทมีส่วนผสมชนิดหนึ่งแทรกเป็นเครื่องปรุงอยู่เสมอ นั่นก็คือ “ขมิ้นชัน”