โรคตึกป่วยเป็นอาการที่เกิดกับคนประมาณ 20% ของคนทำงานในออฟฟิต ซึ่งจะมีอาการตั้งเเต่น้ำตาไหล คอเเห้ง ปวดหัว ผิวแห้ง คัน มึนหัว คลื่นไส้ ใจสั่น แท้ง หายใจถี่ หอบ เลือดกำเดาไหล เหนื่อยล้าเรื้อรัง ขา หรือข้อเท้าบวม และมะเร็ง ปัจจัยที่สามารถสรุปได้ว่าเราเป็นโรคตึกป่วยหรือไม่คือ การที่อาการเหล่านั้นหายไปเมื่อเราอยู่บ้านหรือลาพักร้อน

เพื่อที่จะลดการใช้พลังงานในการเปิดเครื่องทำความร้อนเเละเเอร์ ตึกส่วนใหญ่จึงต้องปิดหมด ทำให้เกิดการกั้นเอาปัจจัยทางมลพิษต่างๆเอาไว้ภายในตึก ซึ่งรวมถึงการเผาไหม้ภายในตึก เช่น การเปิดเครื่องทำความร้อน การเพิ่มพูนของสารคาร์บอนมอนนอกไซต์ สารต่างๆเช่น เบนซีน สไตลีน และสารละลายอื่นๆ และสารก่อภูมิแพ้เเละจุลลินทรีย์ที่ก่อโรคซึ่งลอยอยู่ในอากาศ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา สปอร์ เจเละโปรโตซัว รวมทั้งวัสดุ (ไม้ พรม และ กาว) และผ้า (พรมเช็ดเท้า เเละเหอร์นิเจอร์) ที่มากับตึกใหม่ ซึ่งปล่อยควันพิษออกมา

เพียงเเค่ช่วงเวลาที่ทำงาน กับสารปนเปื้อนเหล่านี้ก็แย่มากอยู่เเล้ว เเต่สิ่งที่ทำให้แย่ยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ การที่เราไม่สามารถเปิดหน้าต่างได้ เราจึงสูดเอาอากาศเก่าๆ ทำงานในที่ๆซ้ำซาก จำเจ อยู่ในพื้นที่เดียวกันที่มีเเต่หลอดฟลูโอเรสเซน ซึ่งทำให้เกิดความเบื่อหน่าย สายตาเมื่อยล้า เเละ เฉื่อยชา สำหรับคนที่มีภูมิต้านทานที่ดี อาจไม่เป็นไร เเต่สำหรับคนประมาณ 20%-30% ในออฟฟิต อาจมีปัญหาตั้งเเต่อาการปวดหัวเพียงเล็กน้อย คลื่นไส้ มึนหัว ความจำสั้น หงุดหงิด คันตาเเละคอ ไปจนกระทั่งระบบประสาทเเละทางเดินหายใจถูกทำลาย ยิ่งไปกว่านั้นหมอก็บอกว่าอาการหอบหืดจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากการหายใจเอาอากาศเสียในตึกเข้าไป

#healthyenvironment #healthyoffices #ความสะอาดในที่ทำงาน
Picture:
https://sites.google.com/site/allaboutindoorairpollution/what-is-sick-building-syndrome

“อาการตึกป่วย” ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จริงหรือ?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *